Blogger

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต

                  ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการสื่อสารได้ถูกกล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดน การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆได้ในเวลาอันรวดเร็วและใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงานและอินเตอร์เน็ตก็เป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่


         Webboard 
   WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoard จะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า กล่าวได้ว่า WebBoard คือพัฒนาการในรูปแบบใหม่ ของระบบการสนทนาใน BBS (Bulletin Board System) ที่เคยได้รับความนิยม ก่อนที่ระบบเครือข่าย Internet จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น WebBoard ที่พบเห็นกัน มีอยู่หลายรูปแบบ สำหรับโปรแกรม D'Board ที่เปิดให้ใช้บริการนี้ จะเป็น WebBoard ในลักษณะเดียว (รูปแบบคล้าย) กับที่ใช้ใน pantip.com

    ข้อดีของการใช้ Webboard

    * เป็นช่องทางในการติดต่อ ประกาศข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
    * ทำให้เกิดสังคม ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ระหว่างกลุ่มผู้เยี่ยมชม
    * ผู้พัฒนาโฮมเพจ สามารถใช้เป็นช่องทางในการ ประกาศข่าวใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้
    * ง่ายในการใช้งาน แม้จะเป็นผู้เริ่มต้น เมื่อเทียบกับการใช้ Mailing list หรือ News Group

     ข้อดีของการใช้ D'Board

    * ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม CGI script
    * ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม CGI script ใน Server เอง
    * สามารถนำไปใช้ได้ แม้ว่า Server ของคุณจะไม่อนุญาตให้ติดตั้ง CGI script ได้เอง
    * สามารถกำหนดรูปแบบ ของหน้าต่างๆ ของ WebBoard ของคุณได้เอง โดยผ่านระบบการจัดการที่เตรียมไว้ให้
    * สามารถใช้ HTML code แตกหน้าตา หน้าต่างๆของ WebBoard ของคุณได้ (รวมถึง Java และ Javascript ด้วยเช่นกัน)
    * สามารถลบ และแก้ไข ข้อความ ที่มีผู้มาลงไว้ใน WebBoard ได้
    * สามารถใช้งานได้ ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นด้วยเวลาไม่ถึง 3 นาที ในการกรอกแบบฟอร์ม สมัครเป็นสมาชิก คุณก็สามารถ นำ WebBoard ของคุณไปใช้งาน ในโฮมเพจหรือเวปไซต์ ของคุณได้ทันที
    * และอื่นๆ...


       MSN chat

MSN Messenger คืออะไร? ทางนี้มีคำตอบ  MSN Messenger หรือที่ เราชอบเรียกกันว่า msn เนี่ย มันก็คือ โปรแกรมส่งข้อความข้าม ระบบเน็ทเวิร์ค แบบทันทีทันใด หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า IM (Instant Messenger) ถ้าคุณเคยเล่นโปรแกรม ICQ IRC หรือ Pirch ก็เข้าข่ายเป็นโปรแกรมพวกเดียวกัน แหละครับ!

ทีนี้ทำไม เจ้า msn เนี่ยมันถึงฮิตติดชารจ์ขึ้นมา ก็เนื่องจากความง่ายของการใช้งาน เช่นคุณแค่มี E-mail ของ hotmail หรือ msn คุณก็สามารถเล่นเจ้า msn ได้ทันที แถมมันยังผนวกกับ email ของเราซะอีก โดยที่ เมื่อใดก็ตามที่มีเมล์ เข้ามาถึงเรา เจ้า msn มันก็จะแจ้ง ให้คุณทราบทันที นอกจากนั้น ความเร็วของการ รับและส่งข้อความระหว่างกัน ก็ทำได้อย่างรวดเร็ว หน้าตาโปรแกรมที่สวยงาม แถมเวอร์ชันใหม่ เรายังสามารถใส่รูปของเราได้อีกด้วย! แจ๋วจริงๆ แฮะ

จากรูปด้านบน คือหน้าตาของโปรแกรม msn ครับซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองส่วน

1. หน้าต่างหลัก: ที่หน้าต่างนี้จะแสดงชื่อของเพื่อนๆ เราครับ ทั้งคนที่ online และ offline ซึ่งเวลาเราจะคุยกับเพื่อนคนไหน ก็สามารถดับเบิ้ลคลิ๊ก ที่ชื่อแล้ว หน้าต่างอีกอันจะแสดงขึ้นมา (รูปด้านขวามือ) เราก้อสามารถพิมพ์ข้อความส่งให้เพื่อนได้ทันที

2.หน้าต่างที่เราคุยกับเพื่อน: ที่หน้าต่างนี้เราสามารถพิมพ์ข้อความ คุยกับเพื่อนได้ทันที แล้วคุณยังสามารถให้ msn แสดงรูปภาพของเรา โดยที่ ทางฝั่งเพื่อนของเรา ก็จะเห็นรูปดังกล่าวเช่นกัน อีกทั้งยังสามารถส่ง icon ต่างๆ เพื่อสื่ออารมณ์ เพิ่มความสนุกสนานในการ chat ได้อีกด้วย

อ้อ! ที่สำคัญก่อนใช้เนี่ย ผู้ใช้ต้องมี Email ของ Hotmail หรือ MSN ก่อนนะครับ หากใครไม่มี ต้องไปสมัครที่
http://www.hotmail.com/ ก่อนนะครับ ข้อมูลได้มาจาก www.thaimsn.net.com ครับ

* MSN ช่วยในการทำงานอะไรได้บ้าง?
1. คุยปรึกษาหารือ เรื่องงานที่กำลังทำหรือ สอบถามปัญหาเรื่องงานจากผู้เกี่ยวข้อง แต่เดิมเราใช้การโทรศัพท์พูดคุย แต่บางครั้งเราต้องการคุยเป็นการส่วนตัว แบบว่า 2 ต่อ 2 ไม่อยากให้คนอื่นได้ยินเสียงคุย (กลัวคนอื่นว่า ทำไมมันไม่รู้เรื่องนี้ ทำงานมาตั้งนานแล้ว อะไรประมาณนี้ครับ)
2. สามารถสร้างกลุ่มเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างคณะ/หน่วยาน/บุคลากรต่างๆ เช่น นักวิเคราะห์ของคณะต่างๆ มี MSN ต่อไปเมื่อจะประสานงานกันระหว่างคณะใด หน่วยงานใด ก็ไม่ต้องใช้โทรศัพท์ ก็ได้ เพียงแต่การพูดคุยทาง MSN เท่านั้น ก็สะดวกและตรงจุดเหมือนกัน
3. สามารถจัดประชุมแบบ e-meeting กันได้เลย เราสามารถจัดประชุมกลุ่มเล็กๆ ได้ ประมาณ 3-5 คน โดยติดตั้ง Webcam กับไมค์ ก็สามารถประชุมกันได้อย่างมีรสชาด ผ่านทาง MSN นี้เอง ประชุมที่โต๊ะ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องเสียค่าอาหารว่าง
4. การส่งไฟล์แบบไม่จำกัดขนาดของไฟล์ เคยส่งไฟล์ขนาด 1GB พบว่า ไหวครับ สบายมาก จำกัดเฉพาะช่องสัญญาณของการส่งว่าจะมีเพียงพอหรือเปล่า
* สิ่งที่ควรระวังเวลาเล่น MSN
1. ท่านจะถูกหัวหน้า เพ่งเล็งว่าไม่ทำงาน วันๆ เอาแต่คุยไร้สาระ หากท่านสามารถทำให้หัวหน้าเข้าใจได้ว่าสิ่งที่คุยอยู่นั้นเป็นเรื่องงาน พร้อมกับมีหลักฐานให้ดู ประเด็นนี้น่าจะหลุดพ้นไปได้
2. ระยะเวลาของการพูดคุย บางครั้งท่านจะคุยกันเพลินไปหน่อยจนลืมทำงาน แต่หลังจากพิจารณาแล้ว ผมกลับพบว่าการพูดคุยทางโทรศัพท์ การเดินไปพูดคุยกับเพื่อนที่โต๊ะต่างๆ กับการพูดคุยผ่าน MSN เมื่อพิจารณาดูแล้ว ในเรื่องระยะเวลาของการคุย อาจจะเสียเวลาไม่แตกต่างกันเลยก็ได้

Youtube คืออะไรเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยนำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวิดีโอ ซึ่งยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง 
เมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ ใช้จะสามารถใส่ภาพวิดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูด้วย  แต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ ใส่ไว้ใน Youtube ได้  แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (youtube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) Youtube เติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006 กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว
ประโยชน์ของ Youtube
1.ดูได้ทุกที่ทุกเวลา
2.แลกเปลี่ยนคลิปวิดีโอกันได้ทั่วโลก
3.สร้างสถานีโทรทัศน์ด้วยตัวเองได้
4.สะดวกในการอธิบายข้อมูลต่างๆในรูปแบบวิดีโอแทน
5.ลดค่าใช้จ่ายในการทำสื่อโฆษณาผ่านเว็บไซต์
6.ความบันเทิงรูปแบบใหม่

www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=2375... 

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต ( Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมลเว็ปบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
ประวัติความเป็นมา
  ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ประเทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA
          ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ARPA ได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก ๓ ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครง-การวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ โครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ๔ แห่งเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง ๒๓ เครื่อง
          จากการศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคนเริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ได้
          แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้างเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโพรโทคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Trans-mission Control Protocol / Internet Protocol)และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โพรโทคอลนี้ว่า อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้น โครงการARPANET ได้นำโพรโทคอล TCP/IP ไปใช้
          การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนิน-การต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัยและพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆเข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต(Internet)
          ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด  โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก

   การทำงานของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน
การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ http://www.internic.net/
5. WWW (World Wide Web)
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (

เว็บเบราว์เซอร์ (: web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอลที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็ปหรือเว็บเซอร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ อินเตอร์ร์เน็ตเอ็กซ์โพเรอร์
เวิลด์ไวด์เว็บ ( World Wide Web, WWW, W3 ; หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "เว็บ")
บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทำข้อสอบ การส่งเมล ติดต่อซื้อขาย ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งโพสท์การ์ด เป็นต้น
ประวัติการใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
         การใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่ปี 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (Melbourne ) ประเทศออสเตรเลีย ถาวร ได้ทำการใช้ e-mail เป็นครั้งแรก แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการ ในช่วงเวลาเดียวกัน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียAIT (Asian Insitute of Technology) ได้ทดสอบ UUCP โดยเชื่อมต่อกับ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (Melbourne) และ มหาวิยาลัยในโตเกียว โดยผ่านเครือข่าย X.25 ที่ให้บริการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย internet ในช่วงแรกส่วนมากจะใช้วิธี dial ไปที่มหาวิทยาลัยนั้น ๆ      
  ปี 2531 Thai Computer Science Network (TCSNet) ถือกำเนิดขึ้นด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาล ออสเตรเลีย ในโครงการ Australian International Development Plan (IDP) มหาวิทยาลัย 3 สถาบันในไทยเข้าในโครงการ TCSNet ด้วยได้แก่ PSU, AIT, CU (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
   ปี 2534 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) ได้ติดตั้งโปรแกรม MHSNet โดยใช้ modem ความเร็ว 14.4 Kbps โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Australian Academic and Research Network (AARN) และเป็นทางผ่านใหม่สำหรับการติดต่อระหว่างสถาบันการศึกษาและวิจัยในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัย Melbourne การใช้ E-mail ผ่าน MHSNet และ UUCP เริ่มเข้ามามีส่วนสำคัญสำหรับสถาบันการศึกษาในสมัยนั้น
ปี 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ  หรือ The National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร”Thai Social/Scientific, Academic and Research Network (ThaiSarn) โดยการรวมกันระหว่าง TCSNet และ Inter-University Network ในปีนั้นเอง เครือข่าย internet ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว MHSNet และ UUCP โดยใช้ dial-up หรือเครือข่าย X.25 ก็ถูกแทนโดย Internet Protocol (คือใช้ได้ทุก feature ของ Internet จากเดิมที่ใช้แค่ E-mail อย่างเดียว) โดยผ่านวงจรเช่า (leased lines) เริ่มด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps หลังจากนั้นไม่นาน NECTEC ก็เชื่อมต่อกับ UUNET ความเร็ว 64 Kbps เครือข่ายของ ThaiSarn ในขณะนั้นไม่ได้มีเพียงสถาบันการศึกษาเท่านั้นแต่มีองค์กรของรัฐร่วมอยู่ด้วย
ปี 2537 หลายโรงเรียนได้เริ่มทดสอบการใช้งาน internet
ปี 2538 การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม  โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย(CAT)  องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(TOT)  และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย โดยการให้ลิขสิทธิ์ (licensed) ให้แก่ Internet Thailand ให้เป็น Internet Service Provider (ISP) รายแรก โดย Internet Thailand ได้เชื่อมต่อกับ UUNET ด้วยความเร็ว 512 Kbps ในช่วงเวลาเดียวกัน KSC Comnet ก็ได้รับลิขสิทธิ์เช่นกัน หลังจากนั้นไม่กี่เดือนก็มีอีก 3 บริษัทได้รับลิขสิทธิ์ ตั้งแต่นั้นมา Internet ในประเทศไทยก็เริ่มโตอย่างรวดเร็ว
ปี 2539 หลังจากเกิด ISP ขึ้นมากมายและแต่ละรายก็มี link เชื่อมไปต่างประเทศเป็นของตนเอง เดือนมิถุนายน CAT จึงเริ่มให้บริการ the International Internet Gateway (IIG) เพื่อให้บริการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ ISP ที่ไม่สามารถมี link เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง ISP เล็กหลายแห่งได้ใช้บริการของ IIG เพื่อลดต้นทุน แต่ ISP ส่วนใหญ่ยังคงมี link ของตนเองเพื่อความเสถียร (reliability) และใช้ในการแข่งขัน นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการ local internet exchange ในชื่อ Thailand National Internet Exchange (TH-NIX) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
ปี 2540 ในเดือนพฤศจิกายน NECTEC เปิดให้บริการ local internet exchange ขึ้นในชื่อ The ThaiSarn Public Internet Exchange (PIE) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ต่างๆเข้ากับ ThaiSarn Public access Network นอกจากนั้นคือเพิ่มทางเลือกให้แก่ ISP เนื่องจาก TH-NIX มีระเบียบข้อบังคับมาก
ปี 2541 ในเดือนพฤษภาคม TH-NIX และ PIE ได้เชื่อมต่อกันด้วยความเร็ว 2 Mbps
                 นอกจากนั้นยังมีเรื่องอื่นๆเกียวกับ internet ในประเทศไทยอีก เช่น THNIC (Thailand Network Information Center) ผู้ให้บริการ Domain Name Registration ภายใต้ domain .th อีกซึ่งรู้สึกว่าจะเริ่มให้บริการในเดือนตุลาคม 2536 (ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ ใครรู้แจ้งเห็นจริงช่วยบอกด้วย) แล้วก็ยังมี โครงการเครือข่ายกาญจนภิเษก ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และเป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี แห่งการครองราชย์ แล้วก็มีโครงการ SchoolNet@1509 (อันเดียวกับ SchoolNet นั่นแหละ) แล้ว ฯลฯ เช่น การเกิดของ homepage คนไทยเพื่อคนไทย เช่น www.siamweb.org หรือ www.sanook.com เป็นต้น
บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต
คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ตโดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต         บริการนี้เป็นบริการที่ต้องใช้โปรแกรม Web Browser เช่น FireFox, Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการสั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (บริการต่างๆ ของอินเตอร์เน็ต

1..Telnet หรือ SSH
2. อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail)
3. USENET News หรือ News Group
4. FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล)
6. Skype, Net2Phone, Cattelecom.com
10. Game Online  เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับ Search Engine

                          
                       
Search Engine  คืออะไร?
                                          
    Search Engine  คือ โปรแกรมที่ออกแบบมาเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหาคำสั้นๆหรือที่เรียกว่า keyword หรือคำค้นต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งข้อมูลนั้นอาจอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์ ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ สื่อมัลติมีเดียไฟล์บีบอัด และรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถบันทึกเป็นเอกสารออนไลน์ได้
โดยข้อมูลการเก็บรายชื่อเว็บไซต์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การทำงานของ Search Engine นั้นจะทำงานก็ต่อเมื่อมีคนป้อนคำหรือที่เรียกว่า keyword ลงไปใน Search Engine นั้นๆจากนั้น Search Engine ก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมาครับ การใช้ search engine ที่ดีนั้นคือการค้นหาข้อมูลที่ตรงและถูกต้องตามที่เราต้องการ
ประเภทของเครื่องมือค้นหา
        Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา
    หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน
    • การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
    • ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
    • การแสดงผลการค้นหาข้อมูล
         ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสารพัฒนาโดยเนคเทค
เนคเทค หมายถึง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) หรือ เนคเทค (NECTEC) เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี โดยมีหน้าที่หลักในการดำเนินการวิจัย ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในภาครัฐ รวมถึงการบริการเพื่อพัฒนา เสริมสร้างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเทศ
 *ตัวอย่าง Search Engine ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น sanook.com, siamguru.com, google.com, yahoo.com, msn.com, altavista.com, search.com เป็นต้น
 การใช้เสิร์ชเอนจินในต่างประเทศ
รายชื่อเสิร์ชเอนจินเรียงลำดับตามความนิยม
สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา [2]
  1. กูเกิล (Google) 49.2%
  2. ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
  3. เอ็มเอสเอ็น (MSN ) 9.6%
  4. เอโอแอล (AOL) 6.3%
  5. อาส์ก (Ask) 2.6%
  6. อื่นๆ 8.5%
เสิร์ชเอนจินอื่นๆ
  • ไป่ตู้ (Baidu) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
  • Cuil
  • ยานเดกซ์ (Yandex) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของรัสเซีย[3]
อ้างอิง
http://www.clickmedesign.com/article/search-engine.html
http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080221183641AAbaqEN
http://th.wikipedia.org/wiki
http://nuduenka.wordpress.com/2010/03/17/77/